เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 3. นัคควรรค สิกขาบทที่ 6 อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[908] ก็ภิกษุณีใดทำอันตรายแก่จีวรที่คณะจะพึงได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[909] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า คณะ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงภิกษุณีสงฆ์
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร 6 ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดพอที่จะวิกัป
ได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า ทำอันตราย คือ ทำอันตรายด้วยกล่าวว่า “ชนทั้งหลายจะพึงถวาย
จีวรนี้ได้อย่างไรกัน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทำอันตรายบริขารอย่างอื่น ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ทำอันตรายจีวรหรือบริขารอย่างอื่นของภิกษุณีหลายรูป ภิกษุณีรูปเดียว
หรือของอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[910] 1. ภิกษุณีแสดงอานิสงส์แล้วกล่าวห้าม
2. ภิกษุณีวิกลจริต
3. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :200 }